ERP คืออะไร?

เมษายน 9, 2024 ERP ZmartB ระบบ ERP ระบบERP

การบริหารจัดการองค์กรในยุคปัจจุบันจำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับปริมาณข้อมูลมหาศาล ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการนำมาใช้ในการดำเนินงาน รองรับการขยายตัวของธุรกิจ ช่วยให้องค์กรสามารถปรับตัวให้เข้ากับตลาดที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตลอดเวลา องค์กรจึงจำเป็นต้องมีเครื่องมือที่มาช่วยในการจัดการข้อมูลเพื่อการนำไปใช้ในกระบวนการทางธุรกิจให้เกิดประสิทธิภาพ และเพื่อการตอบสนองต่อความต้องการนั้น ระบบ ERP ก็เป็นทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดในปัจจุบันที่หลายๆองค์กรเลือกนำมาใช้

ERP เป็นตัวย่อของคำว่า Enterprise Resource Planning หรือในภาษาไทยแปลว่า ระบบจัดการและวางแผนทรัพยากรองค์กร  ซึ่งเป็นระบบซอฟต์แวร์ที่ช่วยให้องค์กรสามารถรวมกลุ่มของข้อมูลและกระบวนการทำงานทั้งหมดมาไว้เพียงที่เดียว  และนำข้อมูลเหล่านั้นใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรต่าง ๆ ให้เกิดประสิทธิภาพ อาทิเช่น ข้อมูลทางทรัพยากรมนุษย์ , ข้อมูลการเงิน, ข้อมูลการผลิต, ข้อมูลคลังสินค้า ข้อมูลการขาย, ข้อมูลการบริการ รวมไปถึงข้อมูลกระบวนการทางธุรกิจอื่น ๆทั้งหมดภายใต้การทำงานในระบบเดียวกัน

คุณสมบัติที่สำคัญของระบบ ERP คือ เป็นระบบที่รวมข้อมูลทุกประเภท ทุกสาขา ทุกทีมทำงานเข้าไว้ในฐานข้อมูลเดียวกัน  จึงทำให้ผู้บริหารสามารถมองเห็นภาพรวมของธุรกิจแบบเรียลไทม์ได้อย่างชัดเจนและมีข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วนเมื่อต้องมีการตัดสินใจบางอย่างในธุรกิจ

ระบบ ERP ประกอบไปด้วยโมดูลหลาย ๆ ส่วนที่ทำงานร่วมกัน
แต่ละโมดูลจะมีฟังก์ชันต่าง ๆ ซึ่งสอดคล้องกับแผนกหรือกระบวนการต่าง ๆขององค์กรในทุกมิติ ดังนี้

1.ระบบบัญชีและการเงิน (Accounting and Finance)

ช่วยให้สามารถบันทึกและจัดการข้อมูลการเงินได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ เช่น บัญชีลูกหนี้ บัญชีเงินเดือน ข้อมูลการเงิน บัญชีกำไรขาดทุนของบริษัท

2.ระบบการจัดการคลังสินค้า (Inventory Management)

ช่วยในการจัดการสต็อกสินค้า สต๊อกสินค้ากึ่งสำเร็จ และ สต๊อกวัตถุดิบ ระบบการจัดส่ง รวมไปถึงควบคุมในส่วนการจัดซื้อ

3.ระบบการผลิต (Manufacturing)

ช่วยในการวางแผนการผลิต ควบคุมกระบวนการการผลิต การจัดการระบบโรงงาน

4.ระบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources Management)

ช่วยในการจัดการข้อมูลพนักงาน ข้อมูลเข้างาน-ออกงาน ข้อมูลเงินเดือน การประเมินผล และการพัฒนาคุณภาพบุคลากร

5.ระบบการขายและการบริการ (Sales and Service)

ช่วยในการจัดการขัอมูลซื้อขาย ข้อมูลการบริการลูกค้า รวมไปถึงในส่วนข้อมูลการตลาด

6.ระบบการวิเคราะห์ข้อมูล (Analytics)

ระบบ ERP มีความสามารถในการรวบรวมข้อมูลอย่างเป็นระบบ และนำข้อมูลนั้นมาใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจทางธุรกิจ

7.ระบบการจัดการโครงการ (Project Management)

ระบบ ERP มีความสามารถในการช่วยในการวางแผน พร้อมกับระบบติดตามการทำงาน รวมถึงระบบควบคุมโครงการต่างๆที่เกี่ยวข้อง

8.ระบบการบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า (Customer Relationship Management)

ช่วยในการจัดการข้อมูลลูกค้า เพื่อความสะดวกในการติดต่อ สื่อสาร และ งานบริการหลังการขาย

9.ระบบการบริหารความเสี่ยง (Risk Management)

ระบบ ERP ช่วยในการตรวจสอบและบริหารจัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในธุรกิจในด้านต่างๆ

10.ระบบการปรับปรุงกระบวนการ (Business Process Improvement)

ระบบ ERP ช่วยในการพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการธุรกิจเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน วางแผนเพิ่มรายได้และลดค่าใช้จ่ายองค์กร

11.ระบบการปฏิบัติตามกฎหมายและความปลอดภัย (Compliance and Security)

ระบบ ERP ช่วยให้องค์กรสามารถวางแผนงงานให้เป็นไปตามกฎหมาย ภายใต้มาตรฐานความปลอดภัยของข้อมูล

จะเห็นได้ว่าระบบ ERP ถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการสนับสนุนกิจการขององค์กรในยุคอุตสาหกรรมดิจิทัล 4.0 อย่างในยุคปัจจุบัน  โดยช่วยให้ธุรกิจมีความยืดหยุ่นในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงในตลาด สร้างการตอบสนองอย่างว่องไวต่อความต้องการของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมให้องค์กรพัฒนาและเติบโตได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน

หากท่านต้องการนำระบบ ERP เข้าไปใช้ในองค์กรของท่าน ติดต่อเราได้ ที่นี่