การเริ่มต้นรู้จักประเภทภาษีเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม หากต้องการเริ่มทำธุรกิจ เพราะภาษีมีผลต่อการดำเนินธุรกิจและผลประกอบการของบริษัทโดยตรง เป็นส่วนสำคัญของการดำเนินองค์กรให้สำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
บทความนี้ ทางทีมงาน ZmartB ได้รวบรวมประเภทภาษีที่ผู้ประกอบการควรรู้จักไว้ให้แล้วค่ะ
- ภาษีเงินได้
ภาษีเงินได้เป็นการคิดภาษีจากรายได้ที่บุคคลหรือนิติบุคคลได้รับจากกิจกรรมต่าง ๆ เช่น รายได้จากการทำงาน รายได้จากการลงทุน รายได้จากการขายทรัพย์สิน รายได้จากกิจกรรมทางธุรกิจ เป็นต้น
ภาษีเงินได้มักจะถูกคิดจากรายได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายและหนี้สินที่เกี่ยวข้องออกไปก่อนแล้ว ซึ่งมูลค่าของภาษีเงินได้จะขึ้นอยู่กับรายได้ทั้งหมดของบุคคลหรือนิติบุคคล โดยมีอัตราภาษีที่ต่างกันตามระดับรายได้ - ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย หมายถึง การหักภาษีเงินได้โดยตรงจากรายได้ที่จ่ายให้กับบุคคลหรือนิติบุคคล โดยการหักภาษีเงินได้นี้จะหักจากจำนวนเงินที่จ่ายให้กับผู้รับเงินที่มีรายได้ตามกฎหมายกำหนด เช่น เมื่อมีการจ่ายเงินเดือนให้แก่พนักงาน หรือการจ่ายค่าบริการให้กับบริษัทหรือบุคคลอื่น ๆ บางครั้งอาจมีกฎหมายหรือข้อบังคับบางข้อที่กำหนดให้ต้องมีการหักภาษีเงินได้ก่อนที่จะจ่ายเงินให้กับผู้รับ เพื่อส่งเงินภาษีให้กับทางราชการ การหักภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายมักจะหักอยู่ระหว่าง 1-10% ขึ้นอยู่กับประเภทของรายได้
3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax หรือ VAT) เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของภาษีที่ถูกเรียกเก็บเพิ่มจากราคาของสินค้าหรือบริการ โดยผู้ขายที่จดทะเบียนภาษีแล้ว มีหน้าที่เรียกเก็บภาษีนี้เพิ่มจากราคาขาย 7% และนำส่งให้สรรพากรให้ตรงตามทุกๆรอบภายในเวลาที่กำหนด เรียกว่า ภาษีขาย ในกรณีที่เราไปซื้อสินค้าหรือบริการที่ผู้ขายมีการคิด VATด้วย ส่วนเพิ่มที่จ่ายไปในราคาซื้อนี้ เราจะเรียกว่า ภาษีซื้อ ธุรกิจที่อยู่ในระบบ VAT ต้องนำส่งภาษีโดยคำนวณจากยอดภาษีขาย หักออกด้วยยอดภาษีซื้อ ถ้าภาษีขายมากกว่าภาษีซื้อ เราต้องจ่ายให้สรรพากรในส่วนที่ยังขาดอยู่ แต่หากภาษีซื้อมากกว่าภาษีขาย เราสามารถยื่นขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มนี้จากสรรพากรได้ หรืออาจนำไว้ใช้หักลบในเดือนต่อๆไป
4. ภาษีเฉพาะ ภาษีธุรกิจเฉพาะ (Special Business Tax) เป็นรูปแบบหนึ่งของภาษีที่ถูกกำหนดขึ้นโดยรัฐบาลเพื่อเก็บรายได้จากธุรกิจที่มีลักษณะเฉพาะ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเงิน เช่น การธนาคาร โรงรับจำนำ ไม่ใช่ภาษีที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมธุรกิจทั่วไป แต่ในบางครั้งในบางธุรกิจอาจมีความเกี่ยวข้องกับภาษีประเภทนี้อยู่บ้าง เช่น หากองค์กรมีบัญชีที่เรียกว่า เงินให้กู้ยืมกรรมการ และองค์กรได้รับดอกเบี้ยจากการปล่อยกู้ในครั้งนี้ ดอกเบี้ยที่เราได้จำเป็นต้องนำมาคำนวณเป็นภาษีประเภทนี้ด้วย
5. ภาษีสรรพามิต ภาษีสรรพสามิต เป็นการเรียกเก็บภาษีจากการขายสินค้าหรือบริการบางประเภทที่มีผลกระทบต่อสังคม วัฒนธรรม ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมในด้านที่เป็นผลเสีย อาทิสินค้าหรือบริการที่ส่งผลกระทบที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เช่น บุหรี่และเหล้า, สิ่งที่มีความเสี่ยงต่อสังคม เช่น ไพ่หรืออุปกรณ์การพนัน สินค้าที่มีผลต่อการทำลายสิ่งแวดล้อม เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง, รถยนต์ รวมไปถึงสินค้าที่ถือเป็นความฟุ่มเฟือย ไม่มีความจำเป็น เช่น น้ำหอม, สนามกอล์ฟ, พรมขนสัตว์ ซึ่งผู้ประกอบการจะต้องแจ้งงบรายเดือนให้กับสรรพสามิตพื้นที่ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
6. ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีบำรุงท้องที่ คือ ภาษีที่เรียกเก็บจากบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลผู้ถือครองทรัพย์สินที่ว่าด้วยสิ่งที่เป็นท้องที่ที่ไม่ได้รับการยกเว้นภาษี ซึ่งสิ่งที่เป็นท้องที่อาจมีหลายประเภท เช่น ที่ดินเปล่า สวนผัก สวนไม้ สวนสาธารณะ เป็นต้น เพื่อเป้าหมายที่จะส่งเสริมการใช้ประโยชน์ที่เหมาะสมของท้องที่ หรือเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งอาจจะมีการกำหนดอัตราภาษีให้ต่างกันตามลักษณะของท้องที่และวัตถุประสงค์ของการใช้เงินภาษีไปใช้
7. ภาษีโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้าง ภาษีโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้าง หมายถึงภาษีที่ถูกเรียกเก็บจากการให้เช่าทรัพย์สิน เช่น บ้าน อพาร์ทเมนท์ อาคารพาณิชย์ หรือพื้นที่การค้า เป็นต้น ภาษีประเภทนี้มักจะเป็นหนึ่งในแหล่งรายได้สำคัญของเทศบาลหรือองค์กรท้องถิ่น โดยมีอัตราการชำระอยู่ที่ 12.5%ต่อปีของราคาให้เช่า และชำระปีละ 1 ครั้ง ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี
8.ภาษีป้าย ภาษีป้าย คือภาษีที่เรียกเก็บจากป้าย โดยพิจารณาจากขนาดของป้าย เริ่มต้นที่ 200 บาท ซึ่่งเจ้าของป้ายต้องยื่นชำระที่สำนักงานเขต ภายในเดือนมีนาคมของทุกปี
9. อากรแสตมป์ เป็นการเสียภาษีหรือค่าธรรมเนียมที่ต้องชำระและจ่ายไปพร้อมกับการซื้อหรือการทำธุรกรรมบางประเภท โดยที่ต้องมีการใช้แสตมป์หรือตราแสตมป์เพื่อแสดงให้เห็นว่าค่าธรรมเนียมหรืออากรได้ถูกชำระครบถ้วนตามกฎหมาย เช่น สัญญาเช่าที่ เช่าซื้อ จ้างทำของ หรือการกู้ยืมเงิน เป็นต้น
หากท่านต้องการระบบ ERP เข้าไปใช้งานในองค์กร เพื่อการจัดการงานภาษีได้สะดวกขึ้น ติดต่อเราได้ ที่นี่